Tuesday, December 13, 2016

ทะเลสวย ด้วยมือเรา ‘Trash Hero’ มาช่วยกันเก็บเพชรพลอย กันดีไหม ?

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)


ทะเลสวย ด้วยมือเรา  ‘Trash Hero’ มาช่วยกันเก็บเพชรพลอย กันดีไหม ?


แพขยะขนาดมหึมาจำนวน 5 แพ ราว 8 ล้านตันในมหาสมุทรทั่วโลกเป็นข้อมูลจริงที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่ ไม่ใช่แค่ในบ้านเรา ทุกประเทศกังวลปัญหาขยะโดยเฉพาะประเภท Single Used อย่างขยะพลาสติกเพราะส่งผลกระทบต่อหลายส่วน ซึ่งแต่ละเรื่องเกี่ยวพันกันเป็นลูกโซ่ เพราะตราบใดที่ขยะถูกทิ้งแต่ไม่ถูกกำจัด ความเป็นสสารทำให้ขยะมีแต่จะพอกพูน แล้วในที่สุดผลลัพธ์คงไม่วายกลายเป็น “ขยะล้นทะเล!” จะไปโทษใครในเมื่อขยะในมือท่านยังไม่ยอมลงถัง แต่ดันไปอยู่ในทะเล

อัญชลี พิพัฒนวัฒนากุล ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านทะเลและมหาสมุทร กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เล่าถึงปัญหาขยะพลาสติกและผลกระทบที่เกิดขึ้นในทะเลว่า “ขณะนี้ขยะพลาสติกในทะเลและมหาสมุทรเป็นเรื่องที่น่าห่วงเพราะต้นทางของขยะเกิดขึ้นจากกิจกรรมบนฝั่ง ก่อนที่ถูกลมและกระแสน้ำพัดพาลงสู่แหล่งน้ำและไหลลงสู่มหาสมุทร ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล และเนื่องจากพลาสติกเหล่านั้นแตกตัวออกเป็นชิ้นเล็กๆ และเข้าสู่ห่วงโซ่อาหารได้ มนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคสูงสุดในห่วงโซ่จะเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบในที่สุด”

ภาพสัตว์นานาชนิดต้องสังเวยชีวิตให้แก่สิ่งที่มนุษย์ทิ้งลงทะเลทั้งทางตรงและทางอ้อมน่าจะเป็นตัวอย่างอันเลวร้ายได้ชัดเจน เช่น เต่าโชคร้ายที่ว่ายไปติดกับห่วงพลาสติกตั้งแต่ตัวเล็กๆ เมื่อโตมาจึงมีกระดองผิดรูปคล้ายเลขแปด, ซากนกอัลบาทรอสที่ตายและย่อยสลายแต่เผยให้เห็นว่าในช่องท้องของมันมีแต่ขยะที่มนุษย์ทิ้งลงทะเล หรือภาพปูเสฉวนใช้เศษขวดแก้วเป็นกระดองเพราะมันเข้าใจว่านั่นคือเปลือกหอย ภาพเหล่านี้อาจทำให้ใจของใครหลายคนสั่นไหว แต่จะไม่มีประโยชน์หากไม่ลงมือทำอะไร

หลายประเทศจึงออกกฎหมายอย่างแข็งขันเพื่อจัดการปัญหาดังกล่าว เช่นในปี 2550 ซานฟรานซิสโกกลายเป็นเมืองแรกในสหรัฐอเมริกาที่ห้ามใช้ถุงพลาสติกใส่สินค้าและถุงพลาสติกบางขนาดไมครอน (น้อยกว่ามิลลิเมตร ไม่สามารถใช้ไม้บรรทัดวัดได้ จำต้องใช้อุปกรณ์เครืองมือวัดอย่าง ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เลยทีเดียว ซึ้งซุปเปอร์มาร์เก็ตบ้านเราทำออกมาใช้ เพื่อลดค่าใช้จ่าย ) ต่อมาในปี 2557 ก็ประกาศห้ามให้ขวดน้ำดื่มพลาสติก และเมื่อเดือนกรฎาคม 2559 ซานฟรานซิสโกเข้าร่วมกับลอสแองเจลิส และ พอร์ทแลนด์ เพื่อออกข้อบังคับห้ามใช้โฟม

ในยุโรปบางประเทศใช้มาตรการทางภาษี โดยเก็บเงินจากผู้บริโภคที่ซื้อของแล้วรับถุงพลาสติก เงินภาษีส่วนนี้ก็ไม่ได้เข้ากระเป๋าใคร แต่กลับมาขับเคลื่อนการจัดการสิ่งแวดล้อมในท้องที่นั้นๆ แต่ในบ้านเราการรับหรือไม่รับถุงพลาสติกเป็นเรื่องความสมัครใจ ทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงโครงการของร้านค้าบางแห่ง และจิตสำนึกของบางคนเท่านั้น

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาฝรั่งเศสประกาศห้ามใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขนาดความจุน้อยกว่า 10 ลิตร และความหนาน้อยกว่า 50 ไมครอน หรือ 0.05 มิลลิเมตร ที่วัดความหนาได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เช่น ถุงจากร้านซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่ นี่เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายจากสหภาพยุโรปเกี่ยวกับการใช้ถุงพลาสติกที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

คนกลุ่มหนึ่งที่เกาะหลีเป๊ะจับกลุ่มกันลงเรือพร้อมกับถุงดำเรียกตนเองว่า ‘Trash Hero’ ยอดคนเก็บขยะ พวกเขาตระเวนเก็บขยะที่พวกเราเรียกันว่าเก็บเพชรพลอย ตามเกาะแก่งละแวกนั้น พวกเขาทำอยู่อย่างนั้นทุกสัปดาห์ ไม่มีหยุด ยกเว้นมีมรสุม “TRASH HERO ถูกสร้างขึ้นมาด้วยระบบที่ไม่มีแบบแผน คือ จุดกำเนิดของพวกเราง่ายมาก คือ คุยกันแล้วลงมือทำเลย จากกลุ่มเพื่อนๆ ที่เกาะหลีเป๊ะน่ะครับ เราทำกันทุกสัปดาห์ตามที่เราตั้งใจไว้ และเราไม่เคยหยุด ทุกคนที่เป็น TRASH HERO ที่กลุ่มหลีเป๊ะ ทุกวันจันทร์จะเป็นอัตโนมัติว่าต้องออกเรือไปเก็บขยะ มาช่วยกันเก็บเพชรพลอยกัน”

ศักดาเดช สุดแสวง หนึ่งในคณะทำงาน TRASH HERO THAILAND เล่าถึงจุดกำเนิดของกลุ่มคนเก็บขยะสายพันธุ์ใหม่ที่ใช้หัวใจล้วนๆ เป็นตัวอย่างสำคัญของคนที่เห็นปัญหาขยะทะเลแล้วทนไม่ได้ ต้องทำอะไรสักอย่าง ส่วนขยะที่เก็บได้ก็ถูกคัดแยก แล้วส่งให้หน่วยงาน เช่น ขยะบางส่วนถูกส่งขึ้นฝั่ง บางส่วนถูกส่งไปที่โรงไฟฟ้าเพื่อทำกระแสไฟฟ้า การที่พวกเขาล้วงลึกถึงแก่ปัญหาขยะทะเล พบว่าแท้จริงแล้วต้นทางของขยะที่มาโผล่ในทะเลและชายหาดแต่ละแห่ง เดินทางมาไกลเป็นทอดๆ

“แรกๆ เราเห็นขยะแล้วคิดว่าขยะมาจากนักท่องเที่ยว แต่พอเราเก็บจริงๆ เราเริ่มสำรวจ เริ่มดูแบนเนอร์ต่างๆ เราจึงรู้ว่า 80 เปอร์เซ็นต์มาจากต่างประเทศ เพราะฉะนั้นขยะไม่มีวันหมด นอกจากต้นทางเขาจะเกิดการจัดระบบ แต่ก็เหมือนกัน เพื่อนๆ TRASH HERO ที่อินโดนีเซียก็ได้ขยะจากไทย เหมือนว่าเราส่งต่อขยะกันไปตามกระแสน้ำ เพราะฉะนั้นก็เหลือแค่การสร้างจิตสำนึก ซึ่งถ้าทำจริงจังหรือมีกลุ่มแบบนี้เยอะๆ ผมว่ามันทำเป็นแฟชั่นได้ คนยุคใหม่สมัยนี้เรื่องจิตอาสาใครๆ ก็รับรู้แล้ว และพร้อมที่จะทำงานพวกนี้ แค่ทำอะไรดี ทำกับกลุ่มไหน ในพื้นที่เขามีหรือเปล่า”

จากความตั้งใจแรกเริ่มว่าทำด้วยจิตอาสา TRASH HERO จึงไม่มีเงินเดือน ไม่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจจากสิ่งที่ทำ แม้แต่สินค้าของกลุ่มก็ขายเท่าทุน แต่งบประมาณที่ใช้ทำกิจกรรมนั้นมีผู้สนับสนุนอย่าง (ไม่) เป็นทางการ เช่น ที่หลีเป๊ะมีสมาคมผู้ประกอบการสนับสนุน อย่างเรือที่ใช้จะกำหนดไว้ว่าสัปดาห์ไหนไปใช้ของที่ไหน พวกเขาจึงมีเรือสำหรับไว้ใช้เป็นสิบลำ อาหารเครื่องดื่มก็มีผู้ประกอบการเอามาให้ บางที่ยังไม่มีคนสนับสนุนก็ควักเงินจ่ายกันเอง

กระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่บ่งชี้ว่าตอนนี้ TRASH HERO เริ่มเป็นแฟชั่นแล้ว แต่ทางกลุ่มบอกว่าไม่อยากเห็น TRASH HERO ของเก๊ ที่ทำหนึ่งสัปดาห์-หยุดสองสัปดาห์ แต่ต้องทำทุกสัปดาห์ ก็เพราะต้องการให้คนในพื้นที่ได้เห็นว่ากลุ่มนี้ไม่ได้ทำเล่น และอาจไปเปลี่ยนแปลงบางอย่างในหัวใจของเขาได้ ปัจจุบันในเมืองไทยมี TRASH HERO ที่ เกาะหลีเป๊ะ, เกาะลันตา, เกาะพะงัน, เกาะเต่า, หาดไร่เลย์, อ่าวนาง, เขาสก, ปัตตานี, ตรัง, หัวหิน, บางสะพาน, บ้านกูด, ปรานบุรี, กรุงเทพ, เชียงใหม่, จันทบุรี, และภูเก็ต ที่อินโดนีเซียมี 7 กลุ่ม ที่สาธารณรัฐเช็ก ที่ลังกาวี ที่ฟิลิปปินส์ ที่นิวยอร์ก และเหลือการตอบรับอีกมากจากหลายประเทศ

Cr.ข่าว

No comments:

Post a Comment