นวัตกรรม มูลค่าเพิ่ม ผลิตผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลส ขนาดเล็กมาก ระดับไมครอน
นวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อเป็นการดำเนินรอย “กษัตริย์นักคิด นักพัฒนา” ตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ผู้ประกอบการและนักออกแบบต้องให้ความสำคัญกับนวัตกรรมและการพัฒนา “ความคิดสร้างสรรค์” ให้สอดรับกับกระแสยุคปัจจุบัน เปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ให้กลายเป็นนวัตกรรมที่มีมูลค่า โดยไม่ลืมรากฐานความเป็นไทยที่มีความได้เปรียบเป็นทุนเดิม เป็นหนึ่งในทางออกที่จะขับเคลื่อนประเทศไทย ได้อย่างยั่งยืน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมสนับสนุนผู้ประกอบการต่าง ๆ ภายในประเทศ ให้สามารถดึงความคิดสร้างสรรค์มาประยุกต์กับทุนทางวัฒนธรรมและสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ ให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่ม “มูลค่า”สูงสู่สายตาประชาคมโลก โดยได้จัดทำนิทรรศการ “Baht & Brain” เพื่อนำเสนอตัวอย่างความสำเร็จของผู้ประกอบการที่สามารถนำความคิดสร้างสรรค์มาสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการได้
หนึ่งในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่ม “มูลค่า”สูงสู่สายตาประชาคมโลก นั้นคือ กลุ่มหัตถกรรม (Craft) หนึ่งในธุรกิจที่เกิดขึ้นจากศิลปวัฒนธรรมไทยที่กลายเป็นที่รู้จักระดับโลก โดยธุรกิจงานฝีมือและหัตถกรรมเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของงานออกแบบและงานศิลปะของไทย จึงเป็นแหล่งรวมของแรงงานสร้างสรรค์ที่มีมากกว่า 323,000 คนทั่วประเทศ ฉะนั้นการนำนวัตกรรมเทคโนโลยีเข้ามาช่วยลดข้อจำกัดในการผลิตงานฝีมือ ทั้งในด้านการเพิ่มปริมาณการผลิต และสร้างความเป็นไปได้ในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ที่จะต่อยอดงานหัตถกรรมแบบดั้งเดิมให้ทันสมัย ตอบโจทย์ความต้องการของผู้ใช้ในปัจจุบันมากขึ้น และมีมูลค่าสูงขึ้นตามลำดับ
ตัวอย่างความสำเร็จของนักออกแบบในกลุ่มนี้ อาทิ การผลิตผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลสขนาดเล็กมากระดับไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) การผลิตผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลสขนาดเล็กมากระดับไมครอนที่นำเสนอความแปลกใหม่ และสามารถนำไปใช้ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อาทิ เสื้อผ้าดีไซน์แปลกใหม่ กระเป๋าถือป้องกันคลื่นรบกวน และวัสดุบุผนังป้องกันคลื่นรบกวน
จารุพัชร อาชวะสมิต ผู้เป็นนักออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ กล่าวว่า ความมุ่งมั่นในการพัฒนาธุรกิจการออกแบบสิ่งทอของประเทศไทยอย่างเป็นรูปธรรมเริ่มต้นขึ้น เมื่อครั้งได้รับโอกาสในการทำงานเป็นที่ปรึกษาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้กับมูลนิธิชัยพัฒนา เพราะได้สัมผัสกับมุมมองของความยั่งยืนในการพัฒนาประเทศจากโครงการในพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 อย่างมากมากมาย ได้เรียนรู้ถึงความเป็นนักพัฒนาที่ไม่มีวันหยุดของพระองค์ท่าน
จารุพัชร อาชวะสมิต ผู้เป็นนักออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ จึงตั้งมั่นว่าจะต้องใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ทางด้านออกแบบสิ่งทอของตนเอง มาร่วมเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะทางด้านงานหัตถกรรมสนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นของไทย อันจะนำไปสู่การสร้างงานและการกระจายรายได้อย่างยั่งยืนสู่ชุมชนตามรอยพระราชดำริด้วย นวัตกรรมผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลสขนาดเล็กมากระดับไมครอนขึ้น
การปรับตัวให้สอดรับกับกระแสของโลกที่มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาและอย่างรวดเร็วโดยยังคงตัวตนของท้องถิ่นไว้เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับการพัฒนางานหัตถกรรมสิ่งทอ ความสร้างสรรค์และความแตกต่าง การทำความรู้จักและเปิดรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อเข้าไปพัฒนาและต่อยอดผลิตภัณฑ์จะทำให้หัตถกรรมสิ่งทอของไทยสามารถแข่งขันได้ดีขึ้น"ผ้าทอจากเส้นใยสแตนเลสขนาดเล็กมากระดับไมครอน ด้วยการสร้างสรรค์ทอผ้าจากโลหะ กล่าวเสริม
ยกตัวอย่างแนวคิดที่เธอได้พัฒนาการทอผ้าจากโลหะ ซึ่งมาจากไอเดียที่จะใช้วัสดุที่ก้าวข้ามความเชื่อเดิมๆ ก้าวข้ามการผลิตและการใช้งานเดิม ๆ และโลหะเป็นวัตถุดิบที่ความแข็งแกร่งแต่สามารถดึงให้กลายเป็นเส้นที่นิ่มนวลและเล็กได้ในระดับไมครอน ซึ่ง 1,000 ไมโครเมตรหรือไมครอน สามารถเทียบได้กับ 1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาวัดค่า การทอผ้าจากโลหะระดับไมครอนจึงมีความหรูหรามันวาว แต่สามารถผ่านกรรมวิธีการทำให้เป็นคราบ (patina) ให้ดูเก่าและดิบได้ และเป็นวัสดุที่มีระบบธุรกิจทั้งมหภาคและจุลภาครองรับการรีไซเคิลอย่างกว้างขวาง
จากแนวคิดดังกล่าว จารุพัชร นักออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ ได้เริ่มต้นทดลองจากการใช้ สแตนเลส ทองแดง ทองเหลือง และดีบุก โดยผ้าทอสแตนเลสนั้นมีความพิเศษคือ ใช้เส้นใยขนาดเล็กหน่วยเป็นไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ซึงเล็กมากขนาดนั้น ทำให้ผ้าเบาโปร่งแสง และไม่ต้องใช้สารเคมีในการทำให้เกิดลายเลย เพราะลวดลายเกิดจากการให้ความร้อนที่ผิวเส้นใย ผ้าสแตนเลสมีผิวสัมผัสที่เรียบลื่นละเอียดคล้ายผิวสัมผัสของผ้าไหม สามารถทำความสะอาดได้ด้วยการล้างและผึ่งให้แห้ง ไม่เกิดสนิม
ส่วนเส้นใยโลหะชนิดอื่นๆ เช่น ทองแดง ทองเหลืองใช้กรรมวิธีที่ทำให้เกิดคราบ (patina) เป็นตัวทำให้เกิดลาย ผลงานเหล่านี้อยู่ภายใต้แบรนด์ Ausara Surface ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักออกแบบตกแต่งภายใน นำไปใช้ในการตกแต่งโรงแรม คอนโดมิเนียม สนามกอล์ฟและบ้านพักอาศัยทั้งในประเทศไทย เอเซียและยุโรป
จารุพัชร นักออกแบบและพัฒนาสิ่งทอ กล่าวทิ้งท้าย " ตนมีความเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หากผู้ประกอบการและนักออกแบบไทยมุ่งมั่นในการพัฒนาตนเอง ไม่หยุดอยู่กับที่ เปิดใจรับนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัยต่างๆ และนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเพิ่มมูลค่าเข้าสู่ผลิตภัณฑ์ จะสามารถพัฒนาธุรกิจ ด้วยการเปลี่ยนมันสมองและภูมิปัญญาไทยให้กลายเป็น จุดเด่น และเป็นที่ยอมรับในสายตาคนทั่วโลกได้"
Cr.ข่าว Eureka
No comments:
Post a Comment