ครองแชมป์ คงกระพันชาตรี หมีน้ำจิ๋ว สุดอึด อยู่รอดแม้น อุณหภูมิต่ำกว่า จุดเยือกแข็ง สูงกว่า จุดเดือดของน้ำ
ถ้าพูดถึงแชมเปียนโลกทางคงกระพันชาตรี ด้วยความอึด ความถึกของสัตว์ หลาย ๆ คนอาจนึกถึงหมีขาว หรือหมีขั้วโลก ที่อาศัยอยู่ท่ามกลางอากาศที่หนาวเย็นมาก ๆ แถมยังถึกทึนแข็งแรงดีเสียด้วย แต่ถ้านำมันมาเทียบกับ "หมีน้ำ" แล้วล่ะก็ ความถึกของเจ้าหมีขาวดูเด็ก ๆ ไปเลยล่ะ นักวิทยาศาสตร์เปิดเผยสัตว์ซึ่งเป็นแชมเปียนโลกทางคงกระพันชาตรี ไม่มีใครเสมอเหมือน เป็นตัวแมลงมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า “ทาร์ดิเกรด” แต่ทั่วไปมักจะเรียกมันว่าหมีน้ำ ค้นพบกันมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2320
เจ้าหมีน้ำ หรือ water bear หรือบางทีก็เรียกว่า moss piglet แชมเปียนโลกทางคงกระพันชาตรี หาได้มีความเกี่ยวข้องประการใดกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมตระกูลหมีเลยแม้แต่น้อย แถมไม่ได้อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ แต่เป็นที่แห่งหนใดก็ได้ที่มีความชื้นสักนิดก็เพียงพอ คุณจะพบมันได้บ่อย (ด้วยการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่อง) ตามมอสและไลเคนเสียเป็นส่วนใหญ่ แถมบ้างก็ว่ามันอยู่ได้แม้แต่ในที่นอนหรือรูหูของคุณ อึ๋ย!! และดูหน้าตามันเสียก่อนสิ ออกจะแปลกประหลาดพิลึกกึกกือซะขนาดนี้ มันมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า "ทาร์ดิเกรด" (tardigrade) ขนาดเล็กจิ๋วเพียง 1 มิลลิเมตร หรือ 1,000 ไมครอนเท่านั้น สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า 1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดเจ้าหมีน้ำได้ละเอียดถึงระดับไมครอน
แต่ในความจิ๋วมีความแจ๋วอยู่ที่ความถึกและอึดขั้นอภิมหาสุดยอด แชมเปียนโลกทางคงกระพันชาตรี เพราะมันสามารถอยู่รอดในสภาพอากาศสุดโหดร้ายขนาดที่มนุษย์จินตนาการไม่ออกได้อย่างดีเยี่ยม รูปร่างเหมือนหนอนอ้วนกลมเป็นปล้อง มี 8 ขา มีเล็บคม ขนาดเล็กมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า ต้องใช้กล้องจุลทรรศน์ ตัวโตเต็มวัยใหญ่ที่สุด มีขนาด 1.5 มิลลิเมตร ส่วนตัวเล็กมีขนาด 0.1 มิลลิเมตร เทียบขนาด 100 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) จึงจะวัดเจ้าหมีน้ำได้ละเอียดถึงระดับไมครอนเลยทีเดียว แถมมีสีสันสวยงาม บางตัวสีแดง ขาว ส้ม เหลือง เขียว ม่วง ดำ และโปร่งใส นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีมากประมาณ 700-800 ชนิด
ความมหัศจรรย์ของมันอยู่ที่เป็นสัตว์ที่คงเหลือล้น ทนเหลือหลาย มาดูความอึดของเจ้าหมีน้ำกัน มันสามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็งที่ -273 องศาเซลเซียส หรือว่าจะเปลี่ยนเป็นร้อนสุด ๆ ก็ทนได้ถึง 151 องศาเซลเซียส สูงกว่าจุดเดือดของน้ำอีกนะเนี่ย ไม่เพียงแค่นั้นนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่ามันสามารถอยู่ในสภาพสูญญากาศได้ด้วย เรียกว่าแม้จะจับไปโยนไว้นอกโลก มันก็ยังคลานตุ๊ต๊ะต้วมเตี้ยมได้ราวกับไม่มีอะไรเกิดขึ้น แถมยังต้านทานรังเอ็กซ์และรังสียูวีได้มากกว่ามนุษย์ 10-20 เท่า นอกจากนี้ยังทนต่อแรงกดดันได้มากกว่าแรงกดดันที่ก้นบึ้งมหาสมุทรเสียอีก
และอีกหนึ่งความสุดยอด สุดพิเศษของมัน คือ เจ้าหมีน้ำ สามารถจำศีลตัวเองได้เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนไปไม่เหมาะต่อการดำรงชีวิตตามปกติ อย่างการเผชิญความแห้งแล้งเกินจะทน จะว่าไปก็คงทนได้ไม่ตายหรอก แต่จะหาอาหาร อย่างพืชและแบคทีเรียตัวเล็ก ๆ กินไม่ได้เสียมากกว่า โดยเจ้าหมีน้ำมันจะหยุดเคลื่อนไหว การเผาผลาญพลังงานของร่างกายถอยไปอยู่ที่ 0.01% ของภาวะปกติ ซึ่งเจ้าหมีน้ำอยู่ในสภาพนี้ได้นานนับ 10 ปี และจะกลับมาฟื้นคืนชีพเริงร่าได้ดังเดิมเพียงแค่ได้รับความชุ่มฉ่ำจากน้ำเพียงหยดเดียวเท่านั้น !!
ไม่มีใครรู้ว่าหมีน้ำกำเนิดหรือวิวัฒนาการ เมื่อช่วงเวลาไหน แต่ซากดึกดำบรรพ์ของมันที่เก่าที่สุด พบอยู่ในช่วงกลางมหายุคแคมเบรียน ซึ่งเป็นยุคก่อนหน้ายุคไดโนเสาร์ แต่สามารถเจอมันได้ทุกที่เกือบทุกมุมโลก ไม่ว่าจะเป็นบ่อน้ำร้อนทั่วโลก ทะเลทราย ในมหาสมุทร ป่า หรือในสวนหลังบ้าน ในน้ำหรือความชื้นมันก็อยู่อาศัยได้ มันกินอาหารพวกแบคทีเรีย พืชเล็กๆบางชนิดเท่านั้น อยู่ได้ในที่ที่มีแรงดันสูงถึง 6,000 เอทีเอ็ม ซึ่งแรงดันบรรยากาศที่เราอยู่กันทุกวันนี้ มีค่าเพียง 1 เอทีเอ็มเท่านั้น มันยังทนรังสีได้สารพัด ตั้งแต่รังสีแสงยูวี และสารเคมีอื่นๆด้วย ถึงจะทำให้มันแห้งตายมาร้อยกว่าปี ก็ยังกลับฟื้นคืนชีพได้ มันอดน้ำได้นานถึง 200 ปี โดยไม่ต้องกินน้ำเลย ขณะที่คนเราอดแค่ 3 วันก็จะตายแล้ว เป็นสัตว์ประหลาดสุดอึดจริง ๆ
Cr.ไทยรัฐ,กระปุก
No comments:
Post a Comment