แขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน รักษาหายได้ ด้วยวิธีการขันชะเนาะ หายปวดได้ภายใน 2 วินาที โดยไม่ต้องผ่าตัด
กรณี แขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน หรือ ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) นั้น สามารถรักษาได้ด้วย การผ่าตัดต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยการผ่าตัดผ่าน กล้องไมโครสโคป (Microscope) หรือ เทคนิค supermicrosurgery นี้ ประกอบด้วย กล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง 40 เท่า อุปกรณ์เครื่องมือพิเศษขนาดเล็กกว่า 0.8 มิลลิเมตร และ เข็มเย็บขนาดเล็ก 50-80 ไมครอน สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า 1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาวัดค่า และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม เบอร์ 11-0 หรือ 12-0 โดยมีศัลยแพทย์ประจำกล้องจุลทรรศน์กำลังขยายสูง
ทั้งนี้ การผ่าตัดแขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน หรือ ภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) นั้น จะใช้เวลา 4-5 ชั่วโมง โดยแพทย์จะทำการดมยาสลบก่อนเปิดแผลกว้างประมาณ 3-4 เซนติเมตร จากนั้นจึงทำการต่อทางเดินน้ำเหลืองเข้ากับหลอดเลือดดำ 3 - 4 ตำแหน่ง ด้วยอุปกรณ์เครื่องมือพิเศษ เข็มเย็บขนาดเล็ก 50-80 ไมครอน (เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)) และไหมเย็บขนาดเล็กกว่าเส้นผม เบอร์ ร่วมกับกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) กำลังขยายสูง สามารถรักษาแขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน ได้
อย่างไรก็ตาม การรักษาภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema) นั้น ทุกคนสามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้ เริ่มจากรักษาความสะอาดอวัยวะที่บวมเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันการติดเชื้ออักเสบ ยกอวัยวะที่บวมให้สูงไว้ เพื่อช่วยน้ำเหลืองที่คั่งคืนสู่ร่างกาย งดอาหารเค็มและอาหารประเภทไขมันสูง เพราะเกลือที่มากเกินไปจะเหนี่ยวนำให้ร่างกายบวมน้ำ ส่วนไขมันจะไปพอกสะสมบริเวณแขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตันที่น้ำเหลืองคั่ง ทำให้อาการบวมรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการพันผ้ายืด (elastic bandage) ให้ตึงพอดี หรือสวมถุงน่อง (stocking) ที่กระชับพอดี ไม่แน่น หรือหลวมไปตลอดเวลา จะถอดเฉพาะเวลาอาบน้ำเท่านั้น
ในส่วนอาการ แขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน จะมีการบวมที่จุดดังกล่าว มากน้อยต่างกันไป แต่เท่าที่เคยพบ บางคนบวมถึงขนาดที่ขาที่บวมหนักถึง 90 กิโลกรัม และมีขนาดเท่ากับโอ่งมังกรใบย่อมๆ เลยทีเดียว แต่โรคนี้ก็มีหลายระดับ หากเป็นระดับผิวๆ ที่น้ำเหลืองมาคั่งที่ผิวด้านนอกจะบวมมากแต่ไม่รู้สึกเจ็บ หากแต่อาการ แขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน ถ้าเป็นบวมน้ำเหลืองระนาบลึกจะบวมน้อยแต่มีอาการปวดมาก โรคนี้มีวิธีการตรวจที่แน่นอนด้วยการทำเอ็มอาร์ไอเพื่อดูเนื้อเยื่อภายในร่างกาย
ส่วนสิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดของโรคอาการ แขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน นี้ก็คือ มีคนจำนวนมากเชื่อว่าโรคนี้รักษาไม่หาย รักษาไม่ได้ และเป็นโรคเวรโรคกรรม ทำให้คนไข้หมดกำลังใจและท้อจนไม่ขวนขวายรักษา ส่วนการรักษาก็มีตั้งแต่การนวดด้วยเครื่องอัดลม ซึ่งมีบริการในโรงพยาบาลขนาดใหญ่บางแห่งเท่านั้น การขันชะเนาะลดบวม และการผ่าตัด โดยล่าสุดเป็นการต่อหลอดน้ำเหลืองเข้าหลอดเลือดดำด้วยการผ่าตัดผ่าน กล้องไมโครสโคป (Microscope) หรือ เทคนิค supermicrosurgery แต่มีวิธีใหม่ที่รักษาโดยไม่ต้องมีการผ่าตัดแล้ว ที่ค้นคิดจากสถาบันบุพโพวิทยาแห่งประเทศไทย
ศ.ดร.นพ.วิชัย เอกทักษิณ ผู้อำนวยการสถาบันบุพโพวิทยาแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบุคคลากรทางการแพทย์รายแรกของโลกที่รักษาโรคบวมน้ำเหลืองได้โดยไม่ต้องใช้ยาหรือการผ่าตัดถ้าแขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน ยังบวมไม่มาก ให้ความว่า โรคดังกล่าวนี้เกิดจากการถ่ายเทและดูดซับน้ำเหลืองที่ผิดปกติ ทำให้น้ำเหลืองไปค้างอยู่ในน้ำเยื่อจนเกิดการเจิ่งนอง โดยจะปรากฏร่วมกันการขยายตัวและการแพร่พันธุ์ของหลอดน้ำเหลืองอย่างดาษดื่น พบบ่อยที่แขน ขา ใบหน้า หน้าท้อง เต้านม สะโพก ถุงอัณฑะ แคมอวัยวะเพศ
วิธีรักษา เมื่อแขนขาบวม จากทางเดิน น้ําเหลืองอุดตัน มันบวมขึ้นมาเราก็ทำให้มันแฟบลง เมื่อน้ำเหลืองคั่งเราก็บีบมันออก แทบไม่มีคนเชื่อว่าเราจะรักษาโรคยากๆ ด้วยวิธีพื้นฐานและถูกมากอย่างการขันชะเนาะ บางคนที่ปวดมากมาเป็นสิบๆ ปี เราสามารถใช้วิธีนี้ทำให้หายปวดได้ภายใน 2 วินาที ปัญหาก็คือตอนนี้เรามีผู้ป่วยมาก แต่มีหมอคนเดียวที่รักษา นอกนั้นเราได้ผู้ช่วยที่เป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่ศึกษาในโครงการบ้าง หรือผู้ป่วยที่หายแล้วบ้าง ที่ได้รับการอบรมการขันชะเนาะเป็นอย่างดีมาช่วย เรามีคนไข้ทั้งชาวไทยและต่างประเทศ 19 ประเทศ บินมารักษาภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)กับเรา นอกจากนี้ก็มีหลายประเทศที่เจอวิกฤตผู้ป่วยด้วยอาการภาวะบวมน้ำเหลือง (Lymphedema)เช่นนี้ติดต่อมาให้ไปรักษาและอบรมการขันชะเนาะ เราก็จัดไปให้ จึงอยากให้มีแพทย์หรือบุคลากรที่เกี่ยวข้อง สนใจวิธีการรักษาแนวนี้ เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้พ้นทุกข์ทรมานให้ได้มากที่สุด
Cr.ข่าวผู้จัดการ
No comments:
Post a Comment