Friday, January 6, 2017

มารู้จัก แพลงก์ตอนจิ๋ว "ซูเปอร์แองจี้" แหล่งของสารชีวะโมเลกุลระดับเซลล์ แก้ปะการังฟอกขาว ทะเลแหวก จ.กระบี่ ได้สำเร็จ ประเทศแรกในโลก

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)


มารู้จัก แพลงก์ตอนจิ๋ว "ซูเปอร์แองจี้" แหล่งของสารชีวะโมเลกุลระดับเซลล์ แก้ปะการังฟอกขาว ทะเลแหวก จ.กระบี่ ได้สำเร็จ ประเทศแรกในโลก


แพลงก์ตอน คือพืชจิ๋วเล็กระดับไม่เกิน 20 ไมครอน สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า  1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมครอน จัดเป็นแหล่งของสารชีวะโมเลกุลระดับเซลล์ ถือเป็นสารอาหารพื้นฐานสำคัญของโลก ภาษาวิชาการเรียกว่า primary productivity นั่นคือจัดเป็นผู้ผลิตที่เล็กที่สุดในห่วงโซ่อาหาร ทำหน้าที่ผลิตสารสำคัญนานาชนิดสู่สิ่งมีชีวิตชนิดอื่นผ่านการบริโภคเป็นทอด ทอด เช่น ปลาทูน่าที่มีน้ำมันปลากลุ่มโอเมก้าสามสูง ปลาแซลม่อนเนื้อเป็นสีส้มจากสารแอสต้าแซนทิน หรือนกฟรามิงโก้ที่มีสีแดงสดจากอาหารที่มีแอสต้าแซนทินสูง

แพลงก์ตอน เป็นพืชเซลล์เดียวมันจะสร้างสารอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมันเท่านั้น จะไม่สร้างอะไรที่ซับซ้อนยุ่งยาก โดยเฉพาะมันต้องอาศัยแสงแดดเพื่อสังเคราะห์อาหารที่เป็นประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมัน มันจึงอุดมไปด้วยสารสีรงควัตถุต่างๆ และสารสีเหล่านี้ทำหน้าที่ป้องกันตัวมันจากแสงแดดด้วยในเวลาเดียวกัน ดังนั้นหากเราคัดเลือกแพลงก์ตอนที่ดีเหมาะสมมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์สำหรับเรามารับประทาน เราก็ไม่ต้องรอขบวนการถ่ายทอดสารอาหาร เราจะได้สารอาหารที่ย่อยง่ายจากธรรมชาติ มีแต่สารที่เป็นประโยชน์ ไม่มีสารพิษตกค้างเจือปน ไม่มียาฆ่าแมลงหรือสารเร่งต่างๆ

นายศรายุทธ ตันเถียร หัวหน้าอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธาราหมู่เกาะพีพี จังหวัดกระบี่ ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รศ.ดร.ไทยถาวร เลิศวิทยาประสิทธิ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องแพลงก์ตอนพืชและสาหร่ายจิ๋ว พร้อมนักดำน้ำ ลงพื้นที่สำรวจปะการัง ที่บริเวณทะเลแหวก เกาะไก่ ทะเลแหวก ตำบลอ่าวนาง อำเภอเมืองกระบี่ พื้นที่ ที่เกิดปะการังฟอกขาว ร้อยละ 80 เพื่อทดลองงานวิจัย การให้สาหร่ายกับปะการังที่ฟอกขาว 3 ชนิด ประกอบด้วย ปะการังก้อน ปะการังพุ่ม และปะการังเกล็ด อย่างละ 3 ตัวอย่าง รวม 12 ตัวอย่าง โดยใช้อุปกรณ์เติมสาหร่าย ประยุกใช้งานทำจากแพลงก์ตอนเน็ตขนาด 20 ไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมครอน แพลงก์ตอนเน็ตขนาด 20 ไมครอน หรือ ซูเปอร์แองจี้ Super Algae เข้าไปในถุง สาหร่ายจะอยู่ภายใน พร้อมเก็บข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ ทั้งอุณหภูมิ สภาพปะการังก่อน-หลัง ระยะเวลา 14 วัน

ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดีประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กล่าวว่า สาหร่ายจิ๋วทำจากแพลงก์ตอนเน็ตขนาด 20 ไมครอนอาศัยอยู่ในเนื้อเยื่อปะการังและสัตว์ทะเลบางชนิด เช่น ดอกไม้ทะเล หอยมือเสือ โดยสาหร่ายจิ๋วจะสังเคราะห์แสงให้พลังงานกับสัตว์ที่อาศัยอยู่ด้วย แต่เมื่อปะการังฟอกขาว เกิดอาการผิดปกติ ปล่อยสาหร่ายออกไปสู่น้ำทะเล พลังงานก็ลดลง ปะการังจึงตาย แต่ผลการทดลองพบว่า Super Algae ที่ใส่ลงไปในปะการังที่ฟอกขาว สามารถช่วยปะการังให้มีอาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นับเป็นครั้งแรกของโลกที่มีการลองใช้ Super Algae แพลงก์ตอนเน็ตขนาด 20 ไมครอน หรือ 20/1,000 มิลลิเมตร วัดได้จาก ไมโครมิเตอร์ และการทำงานในทะเลจริง จะให้ระยะเวลา ติดตามผลของ Super Algae จะรู้ได้ใน 10-14 วันหากสำเร็จ จะเป็นการรับมือกับปะการังฟอกขาวเป็นประเทศแรกในโลก

Cr.ประชาชาติธุรกิจ

No comments:

Post a Comment