Thursday, December 22, 2016

ถนนอัจฉริยะ อีก 30 ปี กลายเป็น ถนนกรองอากาศ ถนนเรืองแสง และ ถนนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยียางมะตอย ทำได้จริงแล้วที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลกของเชลล์ที่บังกาลอร์

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

ถนนอัจฉริยะ อีก 30 ปี กลายเป็น ถนนกรองอากาศ ถนนเรืองแสง และ ถนนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า ด้วยนวัตกรรมเทคโนโลยียางมะตอย ทำได้จริงแล้วที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลกของเชลล์ที่บังกาลอร์


ศาสตราจารย์ จอห์น รี้ด ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ยางมะตอยของเชลล์ กล่าวว่า การลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีของยางมะตอยของเรานั้น มีความมุ่งมั่นเพื่อพลิกโฉมพื้นผิวถนนปกติให้กลายเป็นพื้นผิวแบบอัจฉริยะ ถนนเรืองแสง ถนนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรือ ถนนกรองอากาศ พื้นผิวถนนที่สามารถกักเก็บสสารที่เป็นอันตรายได้ มลพิษที่คุกคามทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเรา อนุภาคเหล่านี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 10 ไมครอนหรือประมาณ 1 ใน 7 ของความหนาของเส้นผมมนุษย์ สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า  1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาวัดค่า

เพื่ออนาคต เทคโนโลยียางมะตอยเหล่านี้จะต้องใช้เวลาในการพัฒนากว่าทศวรรษก่อนที่จะถูกนำ ออกมาสู่ตลาด แต่ก็มีที่เราสามารถนำออกมาใช้งานได้แล้ว เช่น เชลล์ บิทูเฟรช Bitufresh ผลิตภัณฑ์ที่ถูกพัฒนาให้เป็นมากกว่าการกลบกลิ่นยางมะตอยด้วยการปนกลิ่นอื่น ๆ เพราะ Bitufresh สามารถขจัดกลิ่นของยางมะตอยออกไปโดยใช้หลักการโครงสร้างทางเคมีโมเลกุล โดยสารประกอบใน Bitufresh จะเข้าไปจับตัวกับอนุภาค "Mercaptans" (ตัวปล่อยกลิ่นยางมะตอย) ทำให้ตัวปล่อยกลิ่นมีน้ำหนักและความหนาแน่นมากขึ้นและจมลงสู่ด้านล่างจนไม่ สามารถปล่อยกลิ่นออกมาได้ มลพิษเหล่านี้มีขนาดเล็กมาก แค่ 10 ไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) เป็นพื้นผิวถนนที่สามารถกักเก็บสสารที่เป็นอันตรายได้

ถนนกรองอากาศ: อีกหนึ่งนวัตกรรมที่ไม่ไกลเกินความจริง คือ พื้นผิวถนนที่สามารถกักเก็บสสารที่เป็นอันตรายได้ ยกตัวอย่างเช่น ไนโตรเจนออกไซด์ หรือ มลพิษในอากาศ โดยเชลล์กำลังพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถดูดซึมฝุ่นละอองแบบ PM10 เช่น ควัน เขม่า ละออง และสสารอื่น ๆ ที่เกิดจากการปล่อยก๊าซที่มาจากยานพาหนะ ทั้งนี้ Particulate Matter 10 คือ ส่วนประกอบหลักในมลพิษที่คุกคามทั้งสุขภาพและสิ่งแวดล้อมของเรา มลพิษ PM10 ประกอบด้วยของเหลวและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่ล่องลอยในอากาศ

สิ่งที่น่ากังวล คือ อนุภาคที่มีขนาดเล็กนั้นเมื่อถูกสูดเข้าไปจะสามารถเข้าไปยังส่วนลึกที่สุด ของปอดได้ อนุภาคเหล่านี้มีเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 10 ไมครอนหรือประมาณ 1 ใน 7 ของความหนาของเส้นผมมนุษย์ สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า  1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาวัดค่า ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ PM10 (ข้อมูลจาก California Environmental ProtectionAgency Air Resources Board) โลกของเรากำลังมีประชากรเพิ่มมากขึ้น และจำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเมืองก็ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาการจราจรเพิ่มขึ้น แต่ในขณะเดียวกัน กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมมลพิษก็เพิ่มความเข้มงวดขึ้นเรื่อย ๆ เราจึงเห็นการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อลดการปล่อยมลพิษในรถยนต์เข้ามาใช้มากขึ้น

ถนนเรืองแสง : อีกหนึ่งนวัตกรรมจากยางมะตอย บ.เชลล์ ได้เริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพ (การเรืองแสง หรือ ฟอสฟอเรสเซนซ์) ของพื้นผิวทางเท้า ในการทำให้เกิดแสงไฟโดยรอบและแสงแจ้งเตือนเมื่อผู้ขับขี่ต้องเจอกับสภาพถนน ที่เปลี่ยนไปหรือมีอันตราย ทั้งยังได้ร่วมมือกับผู้จัดหาวัสดุเรืองแสง (ฟอสฟอเรสเซนซ์)และมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่ง ในการศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการพัฒนาสัดส่วนของยางมะตอยแบบผสมนี้

ถนนแหล่งกำเนิดไฟฟ้า: เชลล์กำลังทำงานร่วมกับเพฟเจน (Pavegen) บริษัทด้านเทคโนโลยีที่พัฒนาวัสดุปูพื้นอัจฉริยะที่สามารถสร้างพลังงานได้ จากการเคลื่อนไหวของคน และยังมีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถจ่ายพลังงานกระแสไฟฟ้าให้กับยานพาหนะได้ นอกจากนี้เชลล์ยังมีแนวคิดว่าเราจะทำอย่างไรให้เทคโนโลยีนี้สามารถแจ้งเตือน ไปยังหน่วยงานท้องถิ่น และผู้มีหน้าที่กำกับดูแลหากถนนเกิดความเสียหาย เมื่อถนนเกิดการชำรุด แรงดันจากยานพาหนะจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าที่สูงขึ้น ซึ่งจะส่งสัญญาณแจ้งเตือนถึงความเสียหายที่จะตามมาได้

ศาสตราจารย์ จอห์น รี้ด ผู้จัดการทั่วไป ศูนย์เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์ยางมะตอยของเชลล์ กล่าวว่า การพัฒนาเทคโนโลยีของยางมะตอย เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของผลิตภัณฑ์ ปัจจุบัน ศูนย์วิจัยและพัฒนาระดับโลกของเชลล์ที่บังกาลอร์ มีนักวิทยาศาสตร์ที่ทำการค้นคว้าวิจัยลึกถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ยางมะตอยมีคุณสมบัติในการสร้างถนนที่นอกจากจะแข็งแรงทนทานมากขึ้น และใช้งานได้ยาวนานขึ้นแล้ว ยังจะช่วยประหยัดพลังงานได้อีกด้วย  ศาสตราจารย์ จอห์นและทีมของเขา ยังได้พัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งที่จะเปลี่ยนถนนหนทางในโลกใบนี้ให้กลายเป็นพื้นผิวที่สามารถส่อง สว่างได้ในความมืด สามารถชาร์จพลังงานให้กับรถยนต์ไฟฟ้าในขณะที่เราขับรถอยู่ และสามารถป้องกันการปล่อยมลพิษได้

Cr.ฐานเศรษฐกิจ ,ประชาชาติธุรกิจ

No comments:

Post a Comment