Wednesday, December 21, 2016

เปลี่ยนขยะเป็นเงิน แกลบข้าวจากโรงสีข้าว เป็น วัสดุรูพรุนระดับไมครอนน้ำหนักเบา นำไปใช้แทนดิน กรองของเสียตู้ปลา ช่วยลดปัญหาขยะหลังโรงสี ด้วยนวัตกรรม จาก ทีมนักวิจัย หน่วยวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)

เปลี่ยนขยะเป็นเงิน แกลบข้าวจากโรงสีข้าว เป็น วัสดุรูพรุนระดับไมครอนน้ำหนักเบา นำไปใช้แทนดิน กรองของเสียตู้ปลา ช่วยลดปัญหาขยะหลังโรงสี ด้วยนวัตกรรม จาก ทีมนักวิจัย หน่วยวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)


ประเทศไทยเป็นประเทศที่ส่งออกข้าวเป็นอันดับต้นๆ ของโลก โรงสีทั้งขนาดเล็กใหญ่จึงกระจัดกระจัดอยู่ตามเมืองต่างๆ โดยเฉพาะทางแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ไม่ว่าจะเป็นโรงสีขนาดเล็กหรือใหญ่ ผลพลอยได้อย่างแกลบและขี้เถ้าจำนวนมากก็สร้างภาระเหมือนกัน นักวิจัยเอ็มเทค ชุบชีวิตขยะหลังโรงสีเป็นนวัตกรรมวัสดุพอร์แมทมีสมบัติความพรุนตัวสูง โดยมีขนาดรูพรุนระดับไมครอนจนถึงขนาดรูพรุนระดับมิลลิเมตร โดย น.ส.อุมาพร เสนวิรัช นักวิจัยหน่วยวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
     
เวลาสีข้าวออกมา ผลพลอยได้อย่างแกลบและขี้เถ้าจำนวนมากก็สร้างภาระเหมือนกัน เกือบครึ่งหนึ่งคือ แกลบ และอีก 20% ของแกลบก็คือขี้เถ้า ข้าวปริมาณมหาศาลขายได้ไม่มีปัญหา แต่แกลบมหาศาลจะทำอย่างไรกับมัน ด้วยความที่ห้องปฏิบัติการของเราเชี่ยวชาญเทคโนโลยีเกี่ยวกับเซรามิกส์และการผลิตปุ๋ยเม็ด เราจึงนำวัสดุมาเข้าเครื่องปั้นปุ๋ยตามแบบอุตสาหกรรมเซรามิกส์โดยใช้แค่แกลบและน้ำ ก่อนจะเผาในอุณหภูมิสูง จนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาในรูปแบบเม็ดที่มีรูพรุน ตามสมบัติของแกลบและขี้เถ้า ซึ่งนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายทาง โดยได้ตั้งชื่อวัสดุรูพรุนสูงรูปแบบใหม่ที่ทำขึ้นว่า “พอร์แมท” (Poremat)” วัสดุรูพรุนระดับไมครอนน้ำหนักเบา อุมาพร กล่าว

สำหรับขยะหลังโรงสีหรือแกลบนั้น การกำจัดแกลบและเถ้าที่ได้จากการสีข้าว โรงสีขนาดใหญ่บางแห่งจะนำแกลบมาเข้ากระบวนการเผาเอาความร้อน เพื่อผลิตไอน้ำไปหมุนใบพัดสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าไว้ใช้ภายใน ส่วนโรงสีขนาดเล็กจะใช้วิธีการฝังกลบหรือเผา ซึ่งนอกจากจะไม่ทำให้เถ้าแกลบหมดไปแล้วยังก่อให้เกิดมลภาวะทางอากาศ ด้วยปัญหาดังกล่าวทีมวิจัยจึงลงพื้นที่เพื่อเก็บตัวอย่างนำแกลบและเถ้ามาศึกษาคุณสมบัติเชิงโครงสร้าง ทำให้พบว่าภายในของวัสดุทั้งคู่เต็มไปด้วยรูพรุน
           
น.ส.อุมาพร เสนวิรัช นักวิจัยหน่วยวัสดุเพื่อสิ่งแวดล้อม ระบุว่า พอร์แมทมีสมบัติความพรุนตัวสูง โดยมีขนาดรูพรุนตั้งแต่ระดับไมครอนจนถึงมิลลิเมตร สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า  1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาวัดค่า จากการที่มีซิลิกาเป็นส่วนประกอบมากกว่า 90% มีความหนาแน่น 0.8-0.9 กรัมต่อลูกบาศก์เมตร เบากว่าหินธรรมชาติประมาณ 2.5 เท่า แต่มีความทนทานเหมาะแก่การใช้ซ้ำ ผู้ใช้งานจึงนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลาย ทั้งใช้เป็นวัสดุปลูกทดแทนดินสำหรับการปลูกพืชในระบบ, ใช้เป็นวัสดุกรองของเสียแทนแผ่นกรองในตู้ปลา แม้กระทั่งวัสดุทางศิลปะก็เป็นที่นิยมใช้เพราะมีน้ำหนักเบาและยึดเกาะได้ดี
     
ในส่วนของการพัฒนา นักวิจัย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ระบุว่า ขณะนี้ผลิตภัณฑ์อยู่ในขั้นต้นแบบสำหรับการผลิต (pilot scale) โดยมีโรงงานที่มีกำลังการผลิตเม็ดอยู่ที่ 120 ลิตรต่อชั่วโมงซึ่งถือว่ามากพอสมควร แต่อย่างไรก็ดีขั้นตอนต่อไปคือ การมองหานักลงทุนที่สนใจมารับช่วงนวัตกรรมต่อ เพราะศูนย์วิจัยฯ มีหน้าที่พัฒนานวัตกรรมเพื่อให้ภาคประชาชนเป็นผู้มารับช่วงไปต่อยอด ไม่มีหน้าที่ผลิตสินค้าเพื่อขายเอง โดยอุมาพร ได้มองแนวโน้มทางการตลาดไว้อีกด้วยว่า นวัตกรรมเม็ดเถ้าแกลบพอร์แมท จะเหมาะกับผู้ลงทุนที่มีวัตถุดิบเถ้าแกลบเป็นของตัวเอง เช่น เจ้าของโรงสี โรงไฟฟ้า หรือ โรงงานที่ใช้แกลบเป็นเชื้อเพลิงประมาณเดือนละไม่ต่ำกว่า 50 ตัน
     
เนื่องจากโรงสี มีเถ้าแกลบต่อปีอยู่เยอะมาก ปีหนึ่งนับพันนับหมื่นตัน หากนำเงินตรงนั้นมาลงทุนกับนวัตกรรมพอร์แมท จะทำให้ขยะเหล่านั้นกลายเป็นเงิน ซึ่งขยะที่ออกมาก็คือเงินที่เขาต้องจ่ายสำหรับขั้นตอนการกำจัดให้หมดไป  เพราะเถ้าแกลบทุกชิ้นจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ใหม่จากเดิมที่ต้องนำไปเผาหรือฝังกลบ และส่วนตัวก็เชื่อว่านวัตกรรมนี้เมื่อเข้าสู่มือเอกชนแล้วจะไปได้สวย เพราะพอร์แมทมีสมบัติความพรุนตัวสูง โดยมีขนาดรูพรุนตั้งแต่ระดับไมครอนจนถึงมิลลิเมตรเทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) ซึ่งตลาดของกลุ่มบำบัดน้ำบ่อปลาสวยงามเพื่อใช้ทดแทนปะการัง มีความต้องการวัสดุแบบพอร์แมทขั้นต่ำ 50 ตันต่อเดือน ยังไม่นับรวมกับกลุ่มจัดสวนแนวตั้ง หรือสวนดาดฟ้าที่ต้องการประมาณ 100 ตันต่อเดือน ภาพรวมการตลาดของพอร์แมทจึงน่าสนใจและคุ้มค่าแก่การลงทุน” นักวิจัย กล่าว
     
Cr.ผู้จัดการ

No comments:

Post a Comment