Sunday, January 15, 2017

ผ่าตัดกระดูกสันหลัง และ สมอง ด้วย หุ่นยนต์ แห่งแรกในประเทศไทย

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)


ผ่าตัดกระดูกสันหลัง และ สมอง ด้วย หุ่นยนต์ แห่งแรกในประเทศไทย


ภาควิชาศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้รักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่ต้องได้รับการผ่าตัดสมอง ไขสันหลัง กระดูกสันหลังและเส้นประสาท ซึ่งข้อมูลจากหนวยเวชสถิติ ได้รายงานว่ามีจำนวนผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดด้วยโรคทางกระดูกสันหลังเพิ่มมากขึ้นทุกปี และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มมมากขึ้นในอนาคต การนำหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดมาใช้จึงมีความสำคัญ และเป็นความสำเร็จของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีที่สามารถทำได้เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

ขั้นตอนการทำงานร่วมกับหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกระดูกสันหลัง และ สมอง ด้วย หุ่นยนต์นี้มี 4 ขั้นตอนหลัก ประกอบด้วย 1. หลังจากประสาทศัลยแพทย์ได้ตรวจร่างกายผู้ป่วยแล้ว ทำการการถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ นำข้อมูลดังกล่าวมาใช้ในหุ่นยนต์เรเนซอง โดยประสาทศัลยแพทย์จะเป็นผู้กำหนดและวางแผนการใส่สกรูที่กระดูกสันหลัง ถัดไปจะเป็นขั้นตอนในห้องผ่าตัด 2.ประสาทศัลยแพทย์จะทำการประกอบสะพานสำหรับหุ่นยนต์บนหลังของผู้ป่วย เพื่อทำให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้โดยกำหนดเป้าหมายและทิศทางการใส่สกรูไปยังกระดูกสันหลัง

3.กำหนดความแม่นยำของหุ่นยนต์ โดยโปรแกรมของหุ่นยนต์จะทำให้ถ่ายภาพกระดูกสันหลังด้วยเครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นหุ่นยนต์จะกำหนดเป้าหมายและทิศทางการใส่สกรูไปยังกระดูกสันหลังอย่างแม่นยำ ซึ่งมีโอกาสในการคลาดเคลื่อนน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร เท่านั้นหรือระดับไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน (Micron) ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมคร่อนได้

 และ4. ขั้นตอนในการผ่าตัดโดยประสาทศัลยแพทย์ ซึ่งหุ่นยนต์จะมีหน้าที่ช่วยผ่าตัดให้เกิดความแม่นยำ และปลอดภัยแก่ผู้ป่วย ไม่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่สกรูผิดตำแหน่ง ต่างกันระดับไมครอน  เทียบจาก 1,000 ไมครอน (Micron)  สามารถเทียบได้กับ  1 มิลลิเมตร หากจะต้องวัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมคร่อน ต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาทำการวัดขนาดที่มีค่าเป็นไมครอน ซึ่งความผิดพลาดของต่ำแหน่ง อาจส่งผลอันตรายต่อไขสันหลังและเส้นประสาทได้ ข้อบ่งชี้ในการใช้งานหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดนี้คือการผ่าตัดกระดูกสันหลังที่ต้องใส่สกรู การฉีดซีเมนต์เข้าสู่กระดูกสันหลังที่ทรุดตัว การตัดชิ้นเนื้อในกระดูกสันหลัง และการผ่าตัดสมอง

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลัง เส้นประสาทและไขสันหลัง จึงได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผาตัด เพื่อนำมาใช้ในการผาตัดผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลัง เส้นประสาทและไขสันหลัง คือ หุ่นยนต์เรเนซอง(Renaissance Robot) เป็นหุ่นยนต์ที่พัฒนาและสร้างขึ้นในประเทศอิสราเอล ซึ่งได้รับการยอมรับจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ปี 2549 โดยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดนี้ได้รับการออกแบบมาเพื่อช่วยประสาทศัลยศาสตร์ในการผ่าตัดกระดูกสันหลังและสมองโดยการนำมาใช้ประโยชน์ในระยะแรกจะเป็นการกำหนดเป้าและทิศทางการเดินทางของสกรูเพื่อการยึดตรึงกระดูกสันหลังเพื่อความแข็งแรง ไม่เคลื่อนที่ออกไปจากตำแหน่งปกติที่ควรจะเป็น

โรงพยาบาลรามาธิบดีใช้หุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดนี้จะช่วยร่นระยะเวลาในการผ่าตัด มีคามแม่นยำและปลอดภัยสูง มีความแข็งแรงมากขึ้นในระยะยาว ทั้งนี้ รพ.รามาฯจะให้บริการผ่าตัดวิธีนี้กับผู้ป่วยทุกรายที่แพทย์วินิจฉัยว่าจำเป็นต้องใช้โดยไม่แบ่งแยกว่าผู้ป่วยอยู่ในสิทธิรักษาพยาบาลอะไร สำหรับผู้ป่วยยากไร้จะมีมูลนิธิรามาธิบดีในการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล สำหรับการจัดซื้อหุ่ยนต์ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากมูลนิธิฯเป็นเงิน 40 ล้านบาท

ศ.นพ.วชิร คชการ หัวหน้าภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ในปัจจุบันการผ่าตัดด้านประสาทศัลยศาสตร์ จำเป็นต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ และความแม่นยำของศัลยแพทย์เป็นอย่างมาก ประกอบกับการมีเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ก้าวหน้าไปมากมาช่วยในการผ่าตัดทางการแพทย์ ก็จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญแก่ศัลยแพทย์ การใช้หุ่นยนต์นี้มาช่วยลดโอกาสเกิดความผิดพลาดเหลือไม่ถึง 1% เพราะมีคามแม่นยำถึง 99.7% และละระยะเวลาผ่าตัดใส่สกรูจาก 1-2 ชั่วโมงเหลือเพียง 10-20 นาที

ซึ่งผู้ป่วยที่เหมาะสมที่จะใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดคือผู้ป่วยที่ต้องใส่สกรูยึดกระดูกสันหลัง ได้แก่ คนไข้ที่กระดูกสันหลังเคลื่อนต้องใส่สกรูให้กระดูกสันหลังแข็งแรงหรือกระดูสันหลังบิดงอใส่สกรูเพื่อยึดให้ตรง ส่วนผู้ที่กระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทไม่จำเป็นต้องใส่สกรูเพียงแค่ผ่าตัดเอากระดูกที่กดทับเส้นประสาทออกเท่านั้น ปัจจุบันรพ.รามาฯใช้หุ่นยนต์นี้ช่วยผ่าตัดแล้ว 5 รายเป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า50 ปีทั้งหมด มีปัญหากระดูกสันหลังตีบ แคบ เลื่อน

Cr.กรุงเทพธุรกิจ,สำนักข่าวไทย

No comments:

Post a Comment