Monday, January 9, 2017

มาแล้ว เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ที่ความละเอียดถึง 20 ไมครอน ชิ้นงานยิ่งเนียน เก็บรายละเอียดได้มาก

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)


มาแล้ว เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สิ่งประดิษฐ์มหัศจรรย์ที่ความละเอียดถึง 20 ไมครอน ชิ้นงานยิ่งเนียน เก็บรายละเอียดได้มาก


เครื่องพิมพ์ 3 มิติเครื่องแรก Zortrax M200 เครื่องพิมพ์ 3 มิติ สัญชาติโปแลนด์ที่ใช้เทคโนโลยีการพิมพ์ยอดนิยมสำหรับเครื่องพิมพ์ 3 มิติคืออาศัยความร้อนที่หัวพิมพ์ละลายเส้นพลาสติกแล้วค่อยๆ ฉีดออกมาที่ฐานร้อน เพื่อขึ้นรูปไปเรื่อยๆ ความละเอียดของชั้นพิมพ์ระดับ ไมครอน หรือ ไมโครเมตร ซึ่งต้องใช้ ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมครอนนำเอามาใช้ ซึ่งเทคโนโลยีการพิมพ์นี้มีหลายชื่อเรียกมาก หลายชื่อก็โดนจดเป็นเครื่องหมายการค้าไปแล้ว Zortrax จึงเรียกเทคโนโลยีการพิมพ์นี้ว่า LPD หรือ Layer Plastic Deposition หลายคนก็มักจะคิดว่า 3D Printer นั้นใช้ทำแค่โมเดล ทำของเล่น ทำตุ๊กตา แต่จริงๆ 3D Printer นี่มีบทบาทมากในอุตสาหกรรมและนวัตกรรม  เช่นการทำ Prototype หรือทำตัวต้นแบบที่สัมผัสได้จริงออกมาเทสก่อนผลิตงานจริง ซึ่งช่่วยลดระยะเวลาในการค้นคว้าพัฒนา หรือในบางอุตสาหกรรมก็ใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ เพื่อพิมพ์ Part เฉพาะที่ต้องการออกมาเลย ลดต้นทุนในการผลิตได้อีกโข

เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบนี้เวลาทำงานจะไม่ได้ต่อเชื่อมกับคอมพิวเตอร์โดยตรง เพราะการทำงานที่ละเอียดมากๆ อาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง จนถึงข้ามวันข้ามคืน ที่น่าสนใจอย่างหนึ่งคือ การทำงานของเครื่องพิมพ์ 3 มิติ 3D อย่าง Zortrax M200 จึงอาศัยข้อมูลที่เก็บอยู่ใน SD Card แล้วก็ทำงานด้วยตัวเองไปเรื่อยๆ จนงานเสร็จ ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติรุ่น M200 นี้มีความสามารถให้ความละเอียดของชั้นพิมพ์สูงสุดที่ 90-200 ไมครอน สามารถเทียบได้อย่างนี้ 1,000 ไมครอนหรือไมโครเมตร เทียบเท่า  1 มิลลิเมตร โดยต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมครอน ซึ่งยิ่งใช้ความละเอียดมาก ชิ้นงานที่พิมพ์ออกมาก็จะยิ่งเนียน เก็บรายละเอียดได้มาก แต่ก็ต้องใช้เวลาพิมพ์นานขึ้นเป็นเงาตามตัว

ซึ่งจุดเด่นของเครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบนี้ Zortrax M200 คือเป็นเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่ใช้ง่าย มีระบบสำเร็จรูปที่เรียกว่า Zortrax Eco System สนับสนุนการทำงาน ไม่ต้องปรับแต่งเยอะก็พร้อมใช้งานได้ และระบบ Auto Calibration ช่วยเช็คระดับหัวพิมพ์กับฐานพิมพ์ให้มีค่าระยะห่างที่ดีที่สุด แถมยังสามารถรองรับวัสดุการพิมพ์ได้หลายรูปแบบทั้งพลาสติกทางวิศวกรรม เช่น ABS ซึ่งเป็นประเภทเดียวกับพลาสติกที่ทำตัวต่อ Lego และยังมีพลาสติกอีกหลายชนิด หลายสี ที่มีให้เลือกใช้ให้เหมาะกับงานที่จะใช้ แต่ Zortrax M200 มีข้อจำกัดในการใช้วัสดุจากผู้ผลิตเท่านั้น

เราถึงมีเครื่องพิมพ์ 3 มิติอีกรุ่นหนึ่งมาเล่าให้ฟังกันในวันนี้ด้วย นี่คือ Ultimaker 2 Extended จาก Ultimaker เป็นผู้ผลิตที่มีประวัติยาวนาน และมีการพัฒนา อย่างต่อเนื่องจากความคิดเห็นของผูัใช้งาน แถมยังแชร์แบบเครื่องและ software ให้เป็น open source อีกด้วย เพื่อให้ maker สามารถไปพัฒนา และสร้างเครื่องใช้เอง ซึ่งเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker 2 Extended  ใช้เทคนิคการพิมพ์แบบฉีดเหมือนกับ Zortrax M200 แต่จุดแตกต่างคือเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker เป็นเครื่องแบบ Open Source ทำให้มีตัวเลือกซอฟต์แวร์ที่ใช้ควบคุมเครื่องมากกว่า

และเมื่อใชัอุปกรณ์เสริมทำให้รองรับการสั่งงานไร้สายผ่านระบบ internet หรือ Cloud 3D printing ได้ด้วย อีกทั้งสามารถเลือกวัสดุการพิมพ์หลากหลายประเภทจากหลายผู้ผลิตได้มากกว่า นอกจากนี้ Ultimaker 2+ สามารถให้ความละเอียดในการพิมพ์สูงสุดที่ 20 ไมครอน เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมครอน ละเอียดขนาดที่ทำให้สามารถพิมพ์งานขนาดใหญ่และละเอียดมาก แต่แน่นอนเมื่อเครื่องพิมพ์ 3 มิติ Ultimaker 2 สามารถปรับแต่งได้มาก การใช้งานจึงต้องอาศัยประสบการณ์ไปด้วย และอาจจะต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ในการตั้งค่าต่าง ๆ อีกซักนิด เพื่อที่จะให้ได้ค่าที่ดีที่สุดสำหรับการพิมพ์ พลาสติกประเภทนั้น ๆ

Cr.แบไต๋ไอที

No comments:

Post a Comment