Saturday, January 14, 2017

แผ่นฟิล์ม ต้านจุลชีพ รักษา โรคเหงือกอักเสบ ออกฤทธิ์ตรงจุด ขนาด 0.3 x 0.1 มิลลิเมตร ผลงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ไมโครมิเตอร์ (Micrometer)


แผ่นฟิล์ม ต้านจุลชีพ รักษา โรคเหงือกอักเสบ ออกฤทธิ์ตรงจุด ขนาด 0.3 x 0.1 มิลลิเมตร ผลงานวิจัยจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น


ยาต้านจุลชีพที่ใช้รักษาโรคเหงือกอักเสบอักเสบ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทออกฤทธิ์ทั่วร่างกายและประเภทออกฤทธิ์เฉพาะที่ โดยประเภทแรกเป็นแบบกิน มีราคาถูก แต่ข้อเสียคือ ต้องกินปริมาณมาก เม็ดละ 500 มิลลิกรัม 3 เม็ดต่อวัน การกระจายไปบริเวณร่องลึกปริทันต์ต่ำทำให้มีความเข้มข้นไม่เพียงพอต่อการยับยั้งเชื้อจุลชีพ จึงเป็นที่มางานวิจัยแผ่นฟิล์มบางระดับไมครอน รักษาโรคปริทันต์ รศ.จอมใจ พีรพัฒนา ภาควิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัยกล่าว

ส่วนยาประเภทออกฤทธิ์เฉพาะที่สามารถนำส่งยาเข้าสู่บริเวณร่องลึกปริทันต์ได้โดยตรง มีทั้งแบบเจลขี้ผึ้งที่แพทย์เป็นผู้ฉีดเข้าไปในร่องลึกปริทันต์ 1 เข็มใช้ในคนไข้หลายคนอาจปนเปื้อนได้ ในขณะที่ฟิล์มบางต้องนำเข้าในราคาสูง และใช้สารละลายอินทรีย์ในการผลิต ซึ่งอาจตกค้างเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วยได้ จึงเป็นที่มาในการวิจัยสร้างต้นแบบฟิล์มบางต้านจุลชีพขนาด  300x100 ไมครอน แทนการนำเข้า เทียบขนาด 1 มิลลิเมตร = 1,000 ไมครอน (Micron) ที่สามารถวัดได้จากเครื่องมือวัด ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมคร่อนได้

ทั้งนี้ โรคเหงือกอักเสบ หรือ โรคปริทันต์ เป็นโรคที่เกิดกับเนื้อเยื่อปริทันต์ ซึ่งก็คือ เหงือก เอ็นยึดปริทันต์ (เอ็นที่ยึดรากฟันติดกับกระดูกเบ้าฟัน) เคลือบรากฟันและกระดูกเบ้าฟัน การอักเสบจะเกิดบริเวณเหงือกและลุกลามไปยังโครงสร้างค้ำจุนฟันโดยจุลชีพที่อยู่ในคราบจุลินทรีย์ที่ยึดเกาะกับผิวฟันใกล้ขอบเหงือก ปล่อยสารที่เป็นพิษต่อเซลล์เนื้อเยื่อปริทันต์ทำให้โครงสร้างตัวค้ำจุนฟันถูกทำลาย

โจทย์วิจัยจากทันตแพทย์ว่า ต้องการยาต้านจุลชีพที่สามารถลดโดสยาให้พอดีกับการรักษา และสามารถรักษาได้เฉพาะจุด คือสามารถเข้าถึงร่องลึกปริทันต์ที่ระดับความลึกกว่า 6 มิลลิเมตร และค่อยๆ ปลดปล่อยยาให้ออกฤทธิ์ได้นาน และที่สำคัญสุดคือ หากผู้ป่วยสามารถใช้งานได้เองก็จะดีที่สุด คณะนักวิจัยซึ่งทำงานด้านการขึ้นรูปฟิล์มทางเภสัชอยู่แล้ว ได้รับโจทย์ดังกล่าวในปี 2555 จึงเริ่มงานโดยออกแบบยาต้านจุลชีพแบบออกฤทธิ์เฉพาะที่ฟิล์มบาง ที่ไม่มีส่วนผสมของสารละลายอินทรีย์ โดยมีความเข้มข้นของยาอยู่ที่ 0.5 มิลลิกรัม ซึ่งเพียงพอต่อการรักษาหากมีการนำส่งยาเข้าไปถึงจุดที่เป็นรอยโรค

คณะนักวิจัยใช้กระบวนการออกแบบคุณภาพ (Quality by Design) โดยวิเคราะห์ระดับยาต่ำสุดที่จะออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อจุลชีพได้ และพบว่า ตัวยา 0.5 มิลลิกรัมเหมาะสมที่สุด ลดลงจากเดิม 1.5 หมื่นเท่า หากต้องกินยา 500 มิลลิกรัม 3 เม็ดต่อวัน ซึ่งมากจนสามารถฆ่าแบคทีเรียและเชื้อราประจำถิ่นที่สมดุลในร่างกายอยู่แล้วออกไปด้วย จากนั้นพัฒนากระบวนการปลดปล่อยฤทธิ์ยา ผลการทดสอบพบว่า สามารถต้านจุลชีพได้ โดยปลดปล่อยยา 90% ในเวลา 120 ชั่วโมง จึงตอบโจทย์ความต้องการของทันตแพทย์

หลังจากได้สูตรที่เหมาะสม และใช้โพลีเมอร์ที่สามารถย่อยสลายได้แบบกร่อนช้า นักวิจัยจึงสร้างต้นแบบฟิล์มบางต้านจุลชีพขนาด 0.3 x 0.1 มิลลิเมตร หรือ 300x100 ไมครอน ซึ่ง 1,000 ไมครอน (Micron)  สามารถเทียบได้กับ  1 มิลลิเมตร หากจะต้องวัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมคร่อน ต้องใช้เครื่องมือวัดที่เรียกว่า ไมโครมิเตอร์ (Micrometer) มาทำการวัดขนาดที่มีค่าเป็นไมครอน จากนั้นได้ทดสอบในหลอดทดลองเพื่อดูการออกฤทธิ์ต้านจุลชีพ ปริมาณยาที่ปลดปล่อยและการฆ่าเชื้อ

ข้อดีของยาต้านจุลชีพสำหรับรักษาโรคเหงือกอักเสบอักเสบที่อยู่ในรูปของแผ่นฟิล์มบางต้านจุลชีพขนาด  300x100 ไมครอน คือ ระดับยาคงที่เป็นเวลานานเนื่องจากอยู่ในตำแหน่งที่ต้องการรักษา, สามารถลดโดสยาให้เหมาะสม ลดความเสี่ยงในการติดเชื้อแทรกซ้อน และผลข้างเคียงต่ำ ไม่มีตัวทำละลายอินทรีย์เป็นส่วนผสม จึงไม่มีสารตกค้างในระบบนำส่ง ทั้งมีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และผู้ป่วยสามารถใช้เองตามแพทย์แนะนำ โดยไม่ต้องพึ่งพาทันตแพทย์

คณะนักวิจัยประสบความสำเร็จในระดับห้องปฏิบัติการในปีที่ผ่านมาแล้วได้ ยื่นจดอนุสิทธิบัตร ต้นแบบฟิล์มบางต้านจุลชีพขนาด  300x100 ไมครอน โดยใช้ไมโครมิเตอร์ วัดชิ้นงานได้ละเอียดถึงระดับไมคร่อน  แทนการนำเข้า แล้ว และอยู่ระหว่างยื่นขอจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เพื่อทำการทดสอบทางคลินิก ซึ่งหากได้รับการอนุมัติก็จะใช้เวลา 1 ปีในการทดลอง แล้วจึงจะต่อยอดเชิงพาณิชย์ต่อไป ปัจจุบันมีบริษัทยา 2 แห่งให้ความสนใจ ด้วยประสิทธิภาพและยังไม่มีผลิตภัณฑ์แบบนี้ในไทย โดยต้นทุนในระดับห้องปฏิบัติการถูกกว่าของนำเข้ากว่า 10 เท่า ฉะนั้น หากสำเร็จและผลิตเชิงพาณิชย์ ราคาจะอยู่ในระดับที่ผู้บริโภคทั่วไปเข้าถึงได้

Cr. ยูเรกา

No comments:

Post a Comment