แอลอีดี(LED) รักษาเด็กตัวเหลือง
อย่ามองข้ามภาวะตัวเหลืองในเด็ก เพียงเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่พบได้ในทารกแรกคลอดทุกคน เพราะภัยร้ายที่ซ่อนอยู่คือความพิการทางสมอง หรืออันตรายต่อระบบภายในของตัวเด็กเอง แม้จะพบได้ไม่มาก แต่ใช่ว่าจะไม่เคยเกิดขึ้น แต่ตอนนี้แพทย์ไทยก้าวหน้า วิจัย หลอดไฟแอลอีดี(LED) รักษาเด็กตัวเหลือง ได้สำเร็จ
เรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด เป็นผลพวงตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์แล้วมีการนำเข้าออกซิเจนน้อย ที่จริงสามารถวัดออกซิเจนในเลือดของแม่ได้จากเครื่องวัดออกซิเจน(Pulse Oximeter) ก็ได้ เด็กเมือรับออกซิเจนจากแม่น้อยจึงต้องใช้เม็ดเลือดแดงเยอะ หลังจากคลอดแล้วการใช้เม็ดเลือดน้อยลงที่เคยมีอยู่เยอะ ๆ ก็จะแตกออก กลายเป็นน้ำดี ทำให้ตัวเหลืองตามมา
โดยทั่วไปร่างกายเด็กจะสามารถขับน้ำดีออกได้เอง ถ้าขับไม่ทันแพทย์จะช่วยด้วยการเอาไฟมาส่อง หรือให้รับประทานน้ำ แต่บางรายที่มีการผิดปกติมาก ตัวเหลืองมาก เม็ดเลือดแตกง่ายกว่าธรรมดา หากถึงขั้นที่มีเลือดออกที่กล้ามเนื้อ ถือเป็นภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง ต้องรักษาด้วยการถ่ายเลือด
และ ถ้าเด็กที่เกิดมาไม่มีท่อน้ำดี หรือท่อน้ำดีมีปัญหา จะทำให้น้ำดีที่แตกออกไม่สามารถระบายออกทางตับได้ ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ต้องผ่าตัดต่อระบายน้ำดีออกทางลำไส้ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อตามมา ถ้าไม่รีบทำก็จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ลงท้ายด้วยการต้องเปลี่ยนตับตั้งแต่ยังแบเบาะ ซึ่งพบน้อย แต่พบได้
ถ้าน้ำดีสูงมาก ประมาณ 20 มิลลิกรัม จะสามารถซึมเข้าไปที่สมอง ให้สมองพิการ กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน แพทย์ต้องเร่งทำการถ่ายเลือด เอาน้ำดีออก ส่วนเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงมากกว่า แค่ค่าน้ำดีอยู่ในระดับประมาณ 15 มิลลิกรัมก็อาจจะอันตรายแล้ว ปัจจุบันหลังคลอดแพทย์จะทำการวัดค่าตัวเหลืองในเด็กทุกราย
อีกด้านหนึ่ง นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ บอกว่า ในส่วนของการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กนั้น ล่าสุด สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 3 จ.นครสวรรค์ พัฒนาเครื่อง “แอลอีดี โฟโตเธอราปี (LED Phototherapy)” ที่ใช้หลอดไฟแอลอีดี(LED)ชนิดแสงสีฟ้า มากระจายรังสีอินฟราเรดและรังสีอัลตราไวโอเลตไปที่ตัวทารกทั้ง 4 ด้าน
คลื่นแสงจากหลอดไฟแอลอีดี(LED)ที่ส่งไปมีความยาวได้มากกว่าเดิม ใช้พลังงานต่ำ ตั้งเป็นหลอดไฟเปิดปิดอัตโนมัติ (Motion Sensor Light) เกิดความร้อนน้อย ย่นระยะเวลาการรักษา ลดระดับภาวะตัวเหลืองจนเกือบเป็นปกติใน 1 วัน เมื่อเทียบจากเครื่องแบบเก่าจะใช้เวลา 3 วัน นับเป็นเครื่องแรกของประเทศ
ที่สำคัญคือ หลอดไฟแอลอีดี(LED)ชนิดแสงสีฟ้าปลอดภัยต่อผิวหนังของทารก สามารถปรับความเข้มของแสงได้ 5 ระดับ ทนต่อการสั่นสะเทือน มีเครื่องนับเวลาการใช้งาน เหมือนเป็นไฟอัตโนมัติ (Motion Sensor Light) สะดวกในการบำรุงรักษาเครื่อง โดยได้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย (กล้อง IP Camera) ไว้ที่เครื่องส่องไฟแอลอีดี(LED) แล้วเชื่อมต่อมาที่จอมอนิเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามอาการเด็กได้ตลอดเวลา
จากการทดสอบเทียบที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พบว่าคลื่นแสงจากหลอดไฟแอลอีดี(LED)ที่ส่งออกมามีความเหมาะสมสำหรับการรักษา และปลอดภัยต่อผิวหนังของเด็ก เมื่อเทียบจากหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ที่ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเกิดการตก นับเป็นเครื่องฯ ต้นแบบของประเทศไทย นพ.ธงชัย กล่าวในตอนท้าย.
Cr.ข่าวเดลินิวส์
เรื่องนี้ ศ.เกียรติคุณ นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายว่า ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด เป็นผลพวงตั้งแต่ที่อยู่ในครรภ์แล้วมีการนำเข้าออกซิเจนน้อย ที่จริงสามารถวัดออกซิเจนในเลือดของแม่ได้จากเครื่องวัดออกซิเจน(Pulse Oximeter) ก็ได้ เด็กเมือรับออกซิเจนจากแม่น้อยจึงต้องใช้เม็ดเลือดแดงเยอะ หลังจากคลอดแล้วการใช้เม็ดเลือดน้อยลงที่เคยมีอยู่เยอะ ๆ ก็จะแตกออก กลายเป็นน้ำดี ทำให้ตัวเหลืองตามมา
โดยทั่วไปร่างกายเด็กจะสามารถขับน้ำดีออกได้เอง ถ้าขับไม่ทันแพทย์จะช่วยด้วยการเอาไฟมาส่อง หรือให้รับประทานน้ำ แต่บางรายที่มีการผิดปกติมาก ตัวเหลืองมาก เม็ดเลือดแตกง่ายกว่าธรรมดา หากถึงขั้นที่มีเลือดออกที่กล้ามเนื้อ ถือเป็นภาวะที่ค่อนข้างรุนแรง ต้องรักษาด้วยการถ่ายเลือด
และ ถ้าเด็กที่เกิดมาไม่มีท่อน้ำดี หรือท่อน้ำดีมีปัญหา จะทำให้น้ำดีที่แตกออกไม่สามารถระบายออกทางตับได้ ทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง ต้องผ่าตัดต่อระบายน้ำดีออกทางลำไส้ซึ่งอาจมีปัญหาเรื่องการติดเชื้อตามมา ถ้าไม่รีบทำก็จะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ลงท้ายด้วยการต้องเปลี่ยนตับตั้งแต่ยังแบเบาะ ซึ่งพบน้อย แต่พบได้
ถ้าน้ำดีสูงมาก ประมาณ 20 มิลลิกรัม จะสามารถซึมเข้าไปที่สมอง ให้สมองพิการ กลายเป็นเด็กปัญญาอ่อน แพทย์ต้องเร่งทำการถ่ายเลือด เอาน้ำดีออก ส่วนเด็กที่คลอดก่อนกำหนดมีความเสี่ยงมากกว่า แค่ค่าน้ำดีอยู่ในระดับประมาณ 15 มิลลิกรัมก็อาจจะอันตรายแล้ว ปัจจุบันหลังคลอดแพทย์จะทำการวัดค่าตัวเหลืองในเด็กทุกราย
อีกด้านหนึ่ง นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ บอกว่า ในส่วนของการส่องไฟรักษาภาวะตัวเหลืองในเด็กนั้น ล่าสุด สำนักงานสนับสนุนบริการสุขภาพเขต 3 จ.นครสวรรค์ พัฒนาเครื่อง “แอลอีดี โฟโตเธอราปี (LED Phototherapy)” ที่ใช้หลอดไฟแอลอีดี(LED)ชนิดแสงสีฟ้า มากระจายรังสีอินฟราเรดและรังสีอัลตราไวโอเลตไปที่ตัวทารกทั้ง 4 ด้าน
คลื่นแสงจากหลอดไฟแอลอีดี(LED)ที่ส่งไปมีความยาวได้มากกว่าเดิม ใช้พลังงานต่ำ ตั้งเป็นหลอดไฟเปิดปิดอัตโนมัติ (Motion Sensor Light) เกิดความร้อนน้อย ย่นระยะเวลาการรักษา ลดระดับภาวะตัวเหลืองจนเกือบเป็นปกติใน 1 วัน เมื่อเทียบจากเครื่องแบบเก่าจะใช้เวลา 3 วัน นับเป็นเครื่องแรกของประเทศ
ที่สำคัญคือ หลอดไฟแอลอีดี(LED)ชนิดแสงสีฟ้าปลอดภัยต่อผิวหนังของทารก สามารถปรับความเข้มของแสงได้ 5 ระดับ ทนต่อการสั่นสะเทือน มีเครื่องนับเวลาการใช้งาน เหมือนเป็นไฟอัตโนมัติ (Motion Sensor Light) สะดวกในการบำรุงรักษาเครื่อง โดยได้ ติดตั้งกล้องวงจรปิดไร้สาย (กล้อง IP Camera) ไว้ที่เครื่องส่องไฟแอลอีดี(LED) แล้วเชื่อมต่อมาที่จอมอนิเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อติดตามอาการเด็กได้ตลอดเวลา
จากการทดสอบเทียบที่สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ พบว่าคลื่นแสงจากหลอดไฟแอลอีดี(LED)ที่ส่งออกมามีความเหมาะสมสำหรับการรักษา และปลอดภัยต่อผิวหนังของเด็ก เมื่อเทียบจากหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบเดิม ที่ส่งผลให้ผิวหนังของทารกเกิดการตก นับเป็นเครื่องฯ ต้นแบบของประเทศไทย นพ.ธงชัย กล่าวในตอนท้าย.
Cr.ข่าวเดลินิวส์